วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การทำปุ๋ยหมักชนิดต่างๆ

การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้


การกองปุ๋ยหมัก
1. นำเศษใบไม้ชนิดต่างๆมากองบนพื้นดินในที่ร่ม   ให้มีความกว้าง  3  เมตร
 ยาว  5  เมตร   
หนา 0.5 เมตร  (500  กก.)
2. โรยมูลสัตว์ที่หาได้ง่ายในพื้นที่ เช่น มูลหมู    มูลไก่    มูลโค   หรือมูลกระบือ  
 จำนวน 100  กก. (2 กระสอบปุ๋ย) บนกองเศษใบไม้ในข้อ 1.
3. โรยปุ๋ยยูเรียทับลงไป 1-2  กก.
4. โรยดินที่อุดมสมบูรณ์ทับลงไปอีก 100  กก. (หรือ 2 กระสอบปุ๋ย)
5. ปฏิบัติดังเช่นข้อ 1. – 4.  อีก  2   ครั้ง จนกระทั่งได้กองปุ๋ยหมักสูง 1.5  เมตร
6. โรยดินที่อุดมสมบูรณ์บริเวณผิวหน้ากองปุ๋ยหมักในข้อ 5. 

ให้หนาประมาณ 1 นิ้ว 

 การกลับกองปุ๋ยหมัก

1. ควรกลับกองปุ๋ยหมักโดยพลิกเอาส่วนล่างขึ้นมาไว้ด้านบน ทุกๆ  10  วัน

 การรดน้ำกองปุ๋ยหมักและการได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์

1. รดน้ำปุ๋ยหมักให้มีความชื้นพอเหมาะ ถ้าแห้งให้รดน้ำทุก 7 วัน
2. ใช้เวลากองประมาณ เดือน ก่อนที่จะนำมาใช้ ให้สังเกตความร้อนภาย

ในกองปุ๋ยว่าอุณหภูมิใกล้เคียงกับภายนอกกอง หรือมีพืชเจริญ
บนกองปุ๋ยหมักก็ถือว่าสามารถนำมาใส่ต้นไม้ได้

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

     ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ 
ช่วยในการบำรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
 วัสดุอุปกรณ์
          1) มูลสัตว์แห้งละเอียด  3 ส่วน
          2) แกลบดำ 1 ส่วน
          3) อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง
 เปลือกถั่วเขียว
          ขุยมะพร้าวกากปาล์ม เปลือกมัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
          4) รำละเอียด 1 ส่วน
          5) น้ำสกัดชีวภาพ หรือใช้หัวเชื่อจุลินทรีย์  1 ส่วน
          6) กากน้ำตาล   1 ส่วน
          7) น้ำ 100 ส่วน
          8)บัวรดน้ำ
ขั้นตอนวิธีทำ
          1) นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเปนชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
          2) ผสมเอาส่วนของน้ำสัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี
ใส่บัวราด
             บนกลองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันจนทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆอย่าให้แห้ง
            หรือชื้นหรือแห้งจนเกินไป(ประมาณ 30-40%หรือลองเอามีดขยำบีบดู 
           ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันและเมือรู้สึกชื้นๆไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้
           ถ้าแตกออกจากกันยังใช้ไม่ได้ต้องรดน้ำเพิ่ม
          3) หมักกองปุ๋ยหมักไว้  7 วัน ก็นำไปใช้ได้
          4) วิธีหมักทำได้ 2 วิธี คือ
                    4.1 เกลี่ยกองปู๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2วัน  คลุมด้วย

                   กระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อน ในวันที่2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้อง
                   เอากระสอบที่คลุมออกแล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ย
                   จะค่อยๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
                    4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่เข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไม่ต้องมัดปากถุง 
                        ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอกาศใต้พื้นถุงได้ 
                        ทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ 
                       และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกันกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดี
                      จะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้า
                      ไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการกมัก
                       ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป 
                        จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ต้องพอดี ประมาณ 30%  
                      ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม


วิธีใช้ 
      1.) ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัม
ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
      2.) พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่นกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตงและฟักทองใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุก
           กับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกผักประมาณ 1 กำมือ
      3) ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยดศษหญ้าหรือใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม                                สำหรับไม้ผลีท่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพแนวทรงพุ่ม 1.5 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร แล้ว
     คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือ
      4.) ลักษณะของปุ๋ยหมักต่างๆ ตามระยะเวลาในการนำมาใช้ 
           โดยแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้
           4.1ปุ๋ยหมักค้างปี  ใช้เศษพืชหมักอย่างเดียวนำมาหมักทิ้งไว้ค้างปี
ก็สารมารถนำมา
               ใช้เป็นปุ๋ยหมักโดยไม่ต้องดูแลรักษาซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนานประมาณ 1 ปี
          4.2 ปุ๋ยหมักธรรมดา ใช้มูลสัตว์ ใช้เศษพืชและมูลสัตว์
               ในอัตรา 100:10 ถ้า เป็นเศษพืชชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลยแต่ถ้าเป็นเศษ
               พืชส่วนใหญ่ๆ นำมากองเป็นชั้นๆ แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วย
               เศษพืชที่ย่าและรดน้ำสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์แบบนี้
               ใช้ระยะเวลาหมักน้อยกว่าปุ๋ยหมักค้างปี เช่นถ้าใช้ฟางข้าวจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน
              ในการหมัก
         4.3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่ง ใช้เวลาในการทำสั้นทำได้โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์
               เร่งการย่อยสลายของเศษพืชและมูลสัตว์ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้นนำไปใช้ได้ทัน
               ฤดูกาลโดยใช้สูตรดังนี้ เศษพืช 1000 กิโลกรัม  มูลสัตว์ 100 กิโลกรัมและเชื่อจุลินทรีย์
              (น้ำหมักชีวภาพ) ตามความเหมาะสมใช้เวลาหมักประมาณ 30-60 วัน มีจุดประสงค์
               เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์
        4.4 ปุ๋ยหมักต่อเชื้อ เป็นการนำปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่งจำนวน 100 กิโลกรัม
             นำไปต่อเชื้อการทำปุ๋นเป็นปุ๋ยหมักได้อีก 1000 กิโลกรัม(1 ตัน) การต่อเชื้อ
            นี้สามารถทำการต่อได้เพียงอีก 3 ครั้ง ใช้เวลาการหมักประมาณ 30-60 วัน
             มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์
          5.) การพิจารณาในแง่ใช้ประโยชน์สูงสุดในการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ

                ต้องพิจารณาจากลักษณะของการใส่ให้แก่พืชปลูกโดยแบ่งได้ 3 แบบดังนี้
              5.1 ใส่แบบหว่านทั่วแปลงการใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุงบำรุง
                   ดินเนื่องจากปุ๋ยหมักจะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่
                   ใหญ่มากนักส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก แต่จะต้อง
                   ใช้แรงงานในการใส่ปุ๋ยหมัก อัตราของปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ต่อปี
             
5.2 ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการปลูกพืชไร่
                  วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวที่เหมาะสมที่จะใช้แบบโรยเป็นแถวสำหรับระบบการ
                  ปลูกพืชไร ทั่วไปอัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 3 ตันต่อไร่ต่อปี
              5.3 ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผลและ
                ไม้ยืนต้นโดยสามารถใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อ
                 การปลูก นำดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม อีกระยะ
                หนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืชเจริญแล้ว  โดยการขุดเป็นร่องรอบๆ ตันตาม
                แนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วยดินอัตราการใช้
               ปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กิโลกรัมต่อหลุม

    การใช้ประโยชน์


          1.) ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
          2.) เพิ่มการดูดซับของธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
          3.) เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื่อโรคบางชนิด
          4.) การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
          5.) ดินค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช














การทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

การทำปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีรายละเอียดประกอบอะไรบ้างและอัตราส่วนที่ใช้แต่ละชนิด
และการทำปุ๋ยอินทรีย์ในเชิงพาณิชย์ใช้เงินลงทุนเท่าใดและสถาบันการเงินใดบ้างที่สนับสนุน

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการผลิตปุ๋ยคุณภาพสูง 

     1. พลั่ว 2. จอบ
     2.สายยางรดน้ำ 4. เครื่องชั่งน้ำหนัก
     3. เครื่องตีป่น 6. เครื่องผสมปุ๋ย
     4. เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย 8. สายพานลำเลียงปุ๋ย
     5.คราด 10.เครื่องเย็บกระดาษ
     6. เชือกฟาง 12. ถุงพลาสติก ขนาด 24*38 นิ้ว
     7. กระสอบปุ๋ย(นอก) 14. ด้ายเย็บกระสอบ
     8. พลาสติกสำหรับคลุมกองปุ๋ยหมัก 16. รถเข็น
     9. ถังพลาสติก


วัสดุที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 

    1. มูลโค,กระบือ 2. ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต 

    2.ปูนขาว 4.ปุ๋ยสูตร 46-0-0
    3. ปุ๋ยสูตร 19-19-19(แม่ปุ๋ยผสมเสร็จ) 6. ปุ๋ยสูตร 18-46-0
    4. ปุ๋ยสูตร 0-0-60 8. ปุ๋ยสูตร 16-20-0 


วิธีทำปุ๋ยหมัก 


    1.ใช้ปุ๋ยคอก(มูลโค,กระบือ) จำนวน 1 ตัน นำมากองไว้ โรยด้วยปูนขา
วและร็อกฟอสเฟต   
บนกองปุ๋ยคอกอย่างละ 25 กิโลกรัม ใช้จอบผสมให้เข้ากัระหว่างผสมให้หว่านปุ๋ยยูเรีย 
(สูตร 46-0-0) จำนวน 2-5 กิโลกรัมและรดน้ำไปด้วยการรดน้ำรดให้พอชุ่ม อย่าให้เปียกน้ำมาก
จนเกินไป แล้วคลุมด้วพลาสติกใช้ก้อนหินหรือไม้ทับให้แห้ง
    2 หลังจากหมักไปแล้ว 3 วัน ให้กลับกองปุ๋ยหมัก ครั้งที่ 1และครั้งที่2,3,4 ห่างกันครั้งละ 7 วัน 
  หลังจากกลับปุ๋ยครั้งที่ 4 แล้ว 7 วันให้นำปุ๋ยออกตากแดดให้แห้ง ทำการคัดแยกเศษวัสดุ
ที่ปนกับปุ๋ยคอก เช่น กระบก หินตะปู ฯลฯ ออกให้หมด
   3. นำปุ๋ยคอกที่ผ่านการตากแห้งและคัดแยกเศษวัสดุอื่นออกแล้วไปตีป่น เก็บใส่ถุง ใช้
      เชือกฟางมัดปากถุงให้แน่น และนำไปเก็บไม่ให้ถูกแดดและฝน
  4. นำปุ๋ยคอกที่ผ่านการบด มาผสมกับปุ๋ยเคมี ดังนี้
     4.1 ปุ๋ยคอกที่บดละเอียดแล้ว จำนวน 75 กก.
     4.2 ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 10 กก. จะได้ธาตุไนโตรเจน 4.6 กก.
     4.3 ปุ๋ยสูตร 18-46-0 จำนวน 5 กก. จะได้ธาตุไนโตรเจน 0.9 กก.
ลาตุฟอสฟอรัส จำนวน 2.3 กก.
     4.4 ปุ๋ยสูตร 0-0-60 จำนวน 5 กก. จะธาตุโปรแตสเซียม 3 กก.
     4.5 ปุ๋ยสูตร 16-20-0 จำนวน 5 กก. จะได้ธาตุไนโตรเจน 0.8 กก.
ธาตุฟอสฟอรัส 1 กก.
           หากใช้ส่วนผสมที่กล่าวมานี้ปุ๋ยอินทรีย์ 100 กก. จะมีธาตุอาหารหลักของพืช N= 6 กก.
           p=3 กก. และ K=3 กก. ซึ่งใช้กับพืชที่กำลังจะเจริญเติบโต เช่น อ้อย มันสำปะหลัง 
          ยางพาราและนาข้าว อัตราที่ใช้ 20 กก./ไร่ หรืออัตราที่ใช้มากน้อยขึ้นอยู่กับความ
         อุดมสมบูรณ์ของดินในขณะนั้นส่วนใหญ่เกษตรกรจะหาซื้อปุ๋ยสูตรดังกล่าวได้ยากแนะนำให้
         ซื้อแม่ปุ๋ยผสมเสร็จได้แก่สูตร 19-19-19 โดยให้ผสมลงไปในปุ๋ยคอก จำนวน 20 กก. แทน
         ปุ๋ยสูตร 18-46-0,0-0-60 และสูตร 16-20-0 ผสมกับยูเรีย สูตร 46-0-0 จำนวน 5 กก.และ
         ปุ๋ยคอก 75 กก.ซึ่งจะได้ธาตุอาหารหลักของพืชใกล้เคียงกันนำส่วนผสมทั้งหมดลงใน
         ถังผสมเติมนำลงไปให้พอชุ่ม ปล่อยให้ผสมจนเข้ากันแล้วจึงปล่อยใส่สายสะพานลำเลียง 
        เพื่อขึ้นไปยังเครื่องอัดเม็ดปุ๋ย
5. หลังจากอัดเม็ดปุ๋ยแล้ว ให้นำเมล็ดปุ๋ยที่ได้นำไปตากแดดให้แห้ง บรรจุกระสอบเย็บปากถุง
    เก็บรักษาไว้ในโรงเก็บที่สามารถกันแดดและฝนได้ เพื่อรอการจำหน่ายให้กับสมาชิก ท่านผู้อ่าน 
    สงสัยว่าทำไมต้องใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในปุ๋ยอินทรีย์ ทำไมไม่ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ล้วน ๆ หรือทำเป็น
    ปุ๋ยชีวภาพจากการศึกษารายละเอียดทางวิชาการพบว่า
    1. ปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินทำให้ดินโปร่ง
       ร่วนซุยระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี รากพืชซอนไซอาหารอาหารได้ง่ายขึ้น แต่ปุ๋ยอินทรีย์
       มีปริมาณธาตุอาหารที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารของพืชที่อยู่ในปุ๋ย
       อินทรีย์ส่วนใหญ่อยู่ ในรูปของสารประกอบอินทรีย์ เมื่อใส่ลงไปในดิน พืชจะไม่สามารถดูดไว้
      ใช้ประโยชน์ได้ในทันทีแต่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดินเสียก่อน
      แล้วจึงจะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นออกมาในรูปของ สารประกอบอนินทรีย์เช่นเดียวกับ
      สาร เคมีจากนั้นพืชจึงจะดูดไปใช้ประโยชน์ได้การที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาชดเชยธาตุอาหารพืช
      ในดินที่สูญเสียไปกับผลผลิตจะต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมหาศาลประกอบกับการปรับปริมาณ
      การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืชในดินทำได้ยากลำบากมาก
    2.ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ มีความสามารถดูดธาตุอาหารพืชที่มีอยู่ในอากาศได้เท่านั้น เช่น
       ไนโตรเจนและฮอร์โมนพืชบางอย่างเท่านั้น แต่ไม่สามารถหาตุอาหารตามความต้องการ
        ของพืชได้ทั้งหมด
    3.น้ำหมักชีวภาพ ได้จากน้ำหมักชิ้นส่วนของพืช สัตว์กับกากน้ำตาล ตุอาหารของพืชจะมีมาก
       หรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและวัสดุที่นำมาหมัก ธาตุอาหารพืชที่ถูกปลดปล่อยผ่าน
       กระบวนการย่อยสลาย จะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมากทั้งยังทำให้ถูกเจือจางด้วยน้ำอีกประมาณ 
       10-100 เท่า เมื่อกระบวนการหมักสิ้นสุดลง จะทำให้น้ำหมักมีกรด 2 กลุ่ม คือ ถ้าหมักในระบบ
      เปิดที่มีอากาศเข้าได้จะได้ กรดน้ำส้ม(กรดอะซิติก)และยีสต์ ถ้าหมักในระบบปิดอากาศเข้าได้
      น้อยจะได้กรดนม(กรดแลคติก) และเชื้อแลคติกแบคทีเรีย เมื่อนำน้ำหมักไปราดลงดินหรือฉีด
      พ่นพืช อาจจะได้ผลดีเนื่องจากสาเหตุดังนี้
      3.1 ทำให้ศัตรูพืชลดลงชั่วคราว เพราะไม่ชอบกลิ่นหรือความเป็นกรดแม่เมื่อศัตรูพืชปรับตัวได้
            ก็จะมาทำลายพืชเหมือนเดิม
      3.2 ในกรณีที่มีเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีสูตรเดิมๆ อย่างต่อเนื่องทำให้การสะสมธาตุอาหาร
           พืชบางตัวในดินมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัสและโพแตลเซียม เมื่อหยุดใช้
           ปุ๋ยเคมีแล้วใช้น้ำหมักชีวภาพแทนพืชจะยังคงสมารถเจริญเติบโตได้
      3.3 ในบางกรณี ดินมีความเป็นด่าง หรือธาตุอาหารของพืชบางตัวไม่ละลายเมื่อใส่น้ำหมักลง
           ไ จะทำให้สภาพดีขึ้นชั่วคราว
     3.4 ในกรณีดินนั้นขาดาตุอาหารรองบางตัว และน้ำหมักนั้นมีธาตุอาหารรองดังกล่าวเข้า
           ไปทดแทนทำให้เกิดผลดีต่อพืช
     3.5 มีฮอร์โมนพืชบางตัวที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นในกระบวนการหมักและปริมารที่เหมาะสมกับพืช นั้น
           จึงทำให้พืชเจริญเติบโตดีขึ้นจากข้อมูลทางวิชาการดังกล่าว จึงทำให้กลุ่มฯผลิตปุ๋ย
          อินทรีย์คุณภาพสูงขึ้นมาใช้เอง ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิต พืชมีธาตุอาหารเพียงพอต่อ
          การเจริญเติบโตดินมีความร่วนซุย จากการผสมมูลสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักแล้ว นอกจาก
          นั้นปูนขาวที่ใส่ลงไปในขั้นตอนตอนกระบวนการหมัก ยังช่วยในการปรับปรุงคุณภาพดินทาง
          ด้านเคมีได้อีกด้วย




ภาพ VDO ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก